...

ความรัก - ความอบอุ่น - ความผูกพัน

ข่าวสกุล ล่าสุด

แผนผังสกุล

ประวัติ สกุล “สีบุญเรือง”

ตามที่ท่านได้อ่านประวัติสกุลสีบุญเรือง (แซ่เซียว) อยู่ในเวลานี้ เป็นคำบอกเล่าของนายเซียวซองขิม สีบุญเรือง

ตามประวัติสกุลสีบุญเรือง (แซ่เซียว) แล้ว ปรากฏว่าสืบเชื้อสายมาจาก เซียวโห มหาอุปราชในครั้งสมัยพระเจ้าฮั่นโกโจ๊ว ในแผ่นดินฮั่น ประมาณราวพันเจ็ดร้อยปีล่วงมาแล้ว

แต่ในเวลานั้นสกุลแซ่เซียวอยู่ในมณฑลโฮนาน ในภาคกลางค่อนข้างเหนือของประเทศจีน แถบแม่น้ำฮวงโห ต่อมาจึงได้อพยพมาอยู่ทางภาคใต้ และในที่สุดก็มาตั้งหลักฐานภูมิลำเนาอยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน อำเภอน่ำเจ็ง

ครั้นต่อมาถึงปลายสมัยแผ่นดินเหม็ง กลางศตวรรษที่ 17 ชาวแมนจูได้ยกทหารมารุกรานย่ำยีประเทศจีน มณฑลฮกเกี้ยน ทางฝ่ายชาวเมืองฮกเกี้ยน ซึ่งมีแต้เซ่งกง เป็นหัวหน้า ได้ทำการต่อสู้ เพื่อกู้แผ่นดินเหม็ง แต่ก็ได้พ่ายแพ้ ไม่สามารถต่อสู้ ผู้ที่มีกำลังมากกว่าได้ จึงได้อพยพถอยข้ามทะเลไปยัง เกาะฟอร์โมซา หรือไต้หวัน

ในการอพยพครั้งนี้ สกุลแซ่เซียวก็ได้อพยพติดตามไปด้วย และต่อมาชาวแมนจู ได้ยกทหารติดตามมารุกรานอีก แต้เซ่งกง ได้ทำการต่อสู้เป็นสามารถ แต่ก็ไม่สามารถทำการต่อสู้ได้อีก จึงต้องปราชัยลงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหมดหวังที่จะทำการกู้แผ่นดินเหม็งได้

สกุลแซ่เซียวจึงได้แตกแยกออกเป็นสามสาย :

สายที่หนึ่ง ได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอแต้เอี้ย

สายที่สอง ได้ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอตงซัว ซึ่งเป็นอำเภอเดียวกันกับที่เกิดของหมอซุนยัดเซ็น ทั้งสองตำบลนี้อยู่ในมณฑลกวางตุ้ง

สายที่สาม ได้ข้ามทะเลไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่สหปาลีรัฐมะลายู จังหวัดมะละกา และต่อมาได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในประเทศสยาม และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ในปี พ.ศ.2463 นายเซียวฮุดเส็ง จึงได้ไปขอนามสกุลต่อรัฐบาลสยามว่า “สีบุญเรือง” ซึ่งได้ใช้กันอยู่จนทุกวันนี้

หมายเหตุ

เนื่องจาก มีผู้สืบเชื้อสายสกุลสีบุญเรืองหลายท่านใคร่ทราบว่า เพราะเหตุใดจึงได้เอาอักษร “สี” ไม่ใช้อักษร “ศรี” นำหน้าสกุล ร.ต.ประจักษ์ สีบุญเรือง จึงได้เรียนถามคุณอาเซียวซองขิม ผู้เป็นบุตรคุณก๋งเซียวฮุดเส็ง ผู้ขอนามสกุลสีบุญเรือง และได้รับคำอธิบายว่า “เซียว” นั้น แปลว่า สวย และเป็นต้นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีสีเขียวเรืองรองคล้ายสีเงิน เมื่อต้องแสงอาทิตย์ในยามเช้า จึงเอาคำว่า “เซียว” เป็น “สี” และเอาคำว่า “บุ้นเลี้ยง” เป็น “บุญเรือง” เนื่องจากมีบรรพบุรุษท่านหนึ่งมีนามว่า “นายเซียวบุ้นเลี้ยง” บรรพบุรุษท่านนี้ เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาญาติพี่น้องของสกุลแซ่เซียวเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเป็นคนโอบอ้อมอารีต่อญาติของท่านทุกคน ไม่ว่าจะมั่งมี หรือยากจน

นายเซียวฮุดเส็ง มีความเห็นว่า คำว่า “เซียวบุ้นเลี้ยง” เป็นมงคลนาม ท่านจึงเอาคำว่า เซียวบุ้นเลี้ยงตั้งทับศัพท์กัน คือ เซียว เป็น สี และ บุ้นเลี้ยง เป็นบุญเรือง เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเข้า จึงเป็นคำว่า “สีบุญเรือง”

ต่อมา นายอโนทัย สีบุญเรือง ได้เล่าให้ฟังว่า นายเซียวซองอ๊วน ได้นำภาพยนตร์ได้ฉายในพระราชวังพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นประจำ และพระองค์ท่านได้ตรัสถามนายเซียวซองอ๊วนว่า ทำไมถึงไม่ใช้ “ศรี” นำหน้าสกุล เพราะมีความหมายมากกว่า แต่ที่สุดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร

หนังสือ

นายเซียวฮุดติ้น สีบุญเรือง

นายเซียวฮุดติ้น สีบุญเรือง

นายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง

นายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง (1)

นายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง

นายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง (2)

นายเซียวเคงเหลียน สีบุญเรือง

นายเซียวเคงเหลียน สีบุญเรือง (1)

นายเซียวเคงเหลียน สีบุญเรือง

นายเซียวเคงเหลียน สีบุญเรือง (2)

นายเซียวซองแป๊ะ สีบุญเรือง

นายเซียวซองแป๊ะ สีบุญเรือง

นายจรูญ สีบุญเรือง

นางระเบียบ สีบุญเรือง

ท่านผู้หญิง ถวิล (สีบุญเรือง) ประกอบนิติสาร

ศ.พญ.จินดาภา (สีบุญเรือง) สายัณหวิกสิต

ศ.พญ.จินดาภา (สีบุญเรือง) สายัณหวิกสิต

ศาสตราจารย์ ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง

ศ.ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง (1)

ศาสตราจารย์ ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง

ศ.ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง (2)

ศาสตราจารย์ ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง

ศ.ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง (3)

ศาสตราจารย์ ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง

ศ.ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง (4)

ศาสตราจารย์ ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง

ศ.ดร.จิตรเกษม สีบุญเรือง (5)

นายโตสิต สีบุญเรือง

นายโตสิต สีบุญเรือง

ลดา สีบุญเรือง

ผศ.ลดา รัตกสิกร (1)

ลดา สีบุญเรือง

ผศ.ลดา รัตกสิกร (2)

หม่อมมาลินี สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

หม่อมมาลินี สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

ร้อยตรี ประจักษ์ สีบุญเรือง

นายโกวิท บุณยัษฐิติ (1)

นายโกวิท บุณยัษฐิติ (2)

นายโกวิท บุณยัษฐิติ (3)

นายโกวิท บุณยัษฐิติ (4)

หนังสืออนุสรณ์สถานสกุลสีบุญเรือง

เกี่ยวกับเรา :
มูลนิธิ สีบุญเรือง


เรือนปั้นหยา กระทุ่มแบน

เมื่อนายเซียวอุดติ้น สีบุญเรือง สมรสกับ นางทองคำ บุตรีของเจ้าสัวโพ คหบดีแห่งอำเภอกระทุ่มแบนนั้น ก็ได้พำนักอาศัยอยู่ ณ บ้านปั้นหยา ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร บนที่ดินผืนใหญ่ที่เจ้าสัวโพยกให้

ต่อมาเมื่อนายเซียวฮุดติ้น และนางทองคำ ถึงแก่กรรมลง ที่ดินได้ตกเป็นของนายเซียวซองลิ้ม สีบุญเรือง บุตรคนโต และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ กรรมสิทธิ์ตกเป็นของนายเซียวซองแป๊ะ สีบุญเรือง บุตรคนรอง

เมื่อนายเซียวซองแป๊ะ ถึงแก่กรรม นางเครื่อง สีบุญเรือง ผู้ภรรยา ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น ๖ คน ประกอบด้วย นายประสพ สีบุญเรือง นายเอี่ยม สีบุญเรือง นายบุญช่วย สีบุญเรือง นายอุดม สีบุญเรือง นายอรุณ สีบุญเรือง และนายจำรัส สีบุญเรือง ให้ดูแลทำนุบำรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บดอกผลไว้ใช้จ่ายบำเพ็ญกุศลให้บรรพบุรุษ และบริจาคทานบำเพ็ญสาธารณะกุศลอื่นๆ โดยให้ถือเป็นทรัพย์กองกลางสำหรับผู้ถือนามสกุลสีบุญเรือง ตามเจตนารมณ์ของนายเซียวซองแป๊ะผู้วายชนม์

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ คณะกรรมการและผู้ถือสกุลสีบุญเรือง เห็นว่าการดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการนั้นไม่ยั่งยืน เห็นสมควรดำเนินการในรูปนิติบุคคล แต่เนื่องจากกฎหมายไทยมิได้บัญญัติเรื่องการก่อตั้งตรัสตีไว้ คงมีแต่การดำเนินการในรูปแบบมูลนิธิเท่านั้น ที่ใกล้เคียงกับวัตถุประสงค์เดิมมากที่สุด จึงพร้อมใจกันจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น ใช้ชื่อว่า ฮุดติ้นและทองคำสีบุญเรือง มูลนิธิ และต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิสีบุญเรือง สืบมาจนถึงทุกวันนี้